บ้านทรงมินิมอล บ้านสไตล์มินิมอล (Minimal Style) เป็นสไตล์การแต่งบ้าน ที่นิยมมาโดยตลอด และนิยมอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ด้วยสไตล์ที่เรียบง่ายดูโล่งสบายตา และใช้เฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น ในการแต่งบ้าน แต่ยังมีอีกหลายบ้านที่ พยายามแต่งบ้าน ให้เป็นสไตล์มินิมอล แต่ก็ล้มเหลวทุกครั้งไป แต่งยังไงก็ไม่ได้รับกลิ่นอาย ความเป็นมินิมอลเลยแม้แต่นิดเดียว ลีโอวูดเข้าใจถึงปัญหา และความเข้าใจในความพยายาม แต่งบ้านของทุกคน
ก่อนอื่นเลย มาทำความรู้จักเกี่ยวกับ การแต่งบ้านสไตล์มินิมอล กันก่อนที่จะเริ่มแต่งตามเทคนิคดี ๆ สไตล์มินิมอล Minimal Style คือการแต่งบ้านที่เน้น ถึงความเรียบง่าย เรื่องใช้เฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น แต่มีดีไซน์ที่แปลกใหม่ทันสมัย Less is more รวมไปการจัดเก็บของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และโล่งสบาย ตกแต่งโทนสีอ่อน ๆ
บ้านทรงมินิมอล
ซึ่งมีให้รูปแบบให้เลือก ทั้งสไตล์มินิมอลโมเดิร์น หรือจะเป็นสไตล์มินิมอลมูจิ ก็สามารถเลือกแต่ง ตามความชอบของแต่ละคนได้ ข้อดีของการแต่งบ้านสไตล์มินิมอล คือ ทำความสะอาดได้ง่าย เนื่องจากการแต่งสไตล์นี้จะเน้นพื้นที่ที่โล่ง ของใช้น้อยชิ้นทำให้ ง่ายต่อการทำความสะอาด อีกทั้งยังมีผลทางด้านใจจิตเล็ก ๆ ด้วย
เพราะการที่เราแต่งบ้านในสไตล์ที่เราชอบ ทำให้บ้านน่าอยู่ในแบบฉบับของเรา เราจะมีความสุขเล็ก ๆ เมื่อได้กลับบ้าน อีกทั้ง การแต่งบ้านสไตล์มินิมอล เน้นของน้อยชิ้น มองประโยชน์ของการใช้งานเป็นหลัก ซึ่งเมื่อเราได้มองจะรู้สึกถึงความสบายตา เรียบง่าย และรู้สึกสงบมากขึ้น
แบบบ้านทรงโมเดิร์นมินิมอล

หากเรามองบ้านในชุมชน ก็จะได้เห็นมุมมองที่แตกต่างมากมาย โดยเฉพาะในยุคใหม่ ๆ การตีความบ้านเปลี่ยนไปอย่างหลากหลาย เมื่อมาประกอบกับเทคโนโลยี ในการก่อสร้าง ทำให้อาคารที่พักอาศัยน่าสนุก และต่อเติมจินตนาการทั้งของสถาปนิก และของผู้อยู่อาศัยได้กว้างขึ้น
บ้านในญี่ปุ่นก็เป็นประเทศ ที่มีความกล้าในการใส่ อะไรแปลก ๆ ออกนอกกรอบ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ในการออกแบบและมีอิทธิพลต่อ การทำบ้านในไทยไม่ใช่น้อย เหมือนเช่นบ้านหลังคาลอยตัวในโกเบ ฝีมือการออกแบบจาก Masahiro Miyake หลังนี้ที่แม้จะนำเสนอ สไตล์มินิมอลแต่ดึงดูด ความสนใจเป็นอย่างมาก
บ้านโมเดิร์นที่มีดีกว่าความเรียบ บ้านหลังนี้เป็นหนึ่งในโครงการบ้านที่ออกแบบโดย y + M Design Office ที่กำหนดรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ในรูปแบบที่เรียบง่ายมาก ๆ ตัวบ้านถูกกำหนด ให้เป็นสถานที่ส่วนบุคคลที่สะท้อน ตัวตนอันแตกต่างจากภูมิทัศน์ ของเมืองรอบ ๆ โดยใส่รูปลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร

แต่ยังมีจุดร่วมคือลักษณะ หลังคาที่ทำองศาตรงมุมให้ดูคล้าย บ้านหลังคาทรงปั้นหยา และการตัดผนังบางส่วนให้โค้งดูเหมือนทรงหลังคาญี่ปุ่นโบราณ ตัวอาคารขยับเข้าไปลึก จากถนนแล้วทำเนินให้ค่อย ๆ เข้าสู่ตัวบ้าน แม้จะเป็นอาคารส่วนตัวแต่ก็เป็นจุดสังเกต ที่เสริมสร้างประสบการณ์ การใช้ชีวิตร่วมกับชุมชนได้
ด้านหน้าปิดหลังเปิดแบ่งเป็นสองอาคาร อาคารกล่องสี่เหลี่ยมด้านหน้าที่ เห็นเป็นก้อนเดียว หากมองจากด้านหลังจะเห็นว่าแบ่งกลุ่มอาคาร ออกเป็นสองก้อน มีช่องว่างตรงกลาง ในส่วนหลังคาก็เป็น 2 ชั้นเช่นกัน
คือ หลังคาที่ติดกับผนังออกแบบ ให้โค้งแอ่นความสูงด้านหนึ่ง ตัดเส้นเฉียงสูงด้านหนึ่ง ให้มีความเหลื่อมกัน ส่วนหลังคาอีกชั้นจะเป็นแผ่นคอนกรีต ขนาดใหญ่ยกขึ้นเป็นหลังคา ลอยตั้งอยู่บนเสาไม้เรียวสูงอย่างท้าทาย ในขณะที่ผนังทั้งสี่ด้านด้านล่างดูราวกับเป็นม่าน สีขาวที่ห้อยลงมาจากทั้งสี่ด้าน บ้าน 2 ชั้น
การสร้างหลังคาในมุมที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดมุมมองที่เหลื่อมกัน สามารถมองเห็นกัน ได้โดยไม่ทับซ้อน และการใช้วิธีแยกอาคารเป็นสองส่วนก็เป็นกลยุทธ์ ที่ดีในการแบ่งสัดส่วนการใช้งานออกจากกัน อาทิ พื้นที่เล่นสำหรับเด็ก ห้องทำงาน ห้องนอน และพื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับ การใช้งานที่หลากหลาย

ไม่รบกวนกันและกัน ระหว่างอาคารมีประตูหน้าต่างขนาดใหญ่ ที่หันหน้าเข้าหากัน ทำให้สามารถ มองเห็นภายในของบ้าน เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัว ของผู้อยู่อาศัยโดย ไม่รู้สึกว่าถูกปิดกั้นมุมมอง เพียงแต่เลือกเปิด ในส่วนที่เปิดได้และปิดส่วนที่ต้องการปิดเท่านั้น
บ้านคลีนที่เต็มไปด้วยแสง งานถนัดของสถาปนิกญี่ปุ่นคือความ clean ของเส้นสายและวัสดุ ที่ทุกอย่างต้องดูสะอาดตา น้อย ๆ ไม่มีอะไรมากเกินความจำเป็น สว่างด้วยสีขาวเป็นสีพื้น แทรกด้วยงานไม้ให้ ความอบอุ่นท่ามกลางความนิ่ง จะแปลกตาไปตรงที่วัสดุฝ้าเพดาน หยิบวัสดุโปร่งแสงมาใช้ ซึ่งยังไม่ค่อยได้เห็นใน บ้านหลังไหนแม้จะเป็นบ้านในญี่ปุ่นเองก็ตาม
ในด้านหน้าอาจจะเห็นว่า มีหน้าต่างน้อยมากทั้งสามด้าน ราวกับว่าการสัมผัส กับโลกภายนอกถูกกำหนดผ่านช่องเล็ก ๆ เท่านั้น แต่ถ้ามาดูด้านใน จะพบว่าบ้านมีความสัมพันธ์ทางตรงกับ ที่เข้ามาจากช่องแสงด้านหลัง ด้านข้าง ช่องแสง skylight ด้านบนหลังคา และบริเวณเหนือผนัง ภายในบ้านมีการจัดช่องว่างขนาดใหญ่ ห้องพักไม่ได้แยกออกจากกันในการใช้งาน แต่ทุกห้องมีส่วนช่วยในการสร้างพื้นที่ ส่วนกลางเช่นจัตุรัสหมู่บ้านส่วนตัว การรับรู้นี้เสริมด้วยแสงทางอ้อมจากด้านบน
พื้นที่รับแสงรับลมที่ซับซ้อนภายใน หลังคาที่แยกออกจากผนังและทางเข้า ไม่เพียงแต่เป็นองค์ประกอบหลักของบ้าน แต่ยังนำเสนอโซลูชัน ที่ส่งเสริมให้แสงธรรมชาติ และการระบายอากาศทำได้ดีขึ้นด้วย รังสีของแสงที่แรงที่สุดของดวงอาทิตย์จากด้านบนจะถูกฉายลงมา จากช่องแสงสกายไลท์บนหลังคา หลักขนาดใหญ่
ในขณะที่รังสีแสงของดวงอาทิตย์ ในช่วงฤดูหนาวจะทะลุผ่าน การตัดเข้ามาในอาคารที่สร้างขึ้น ตามเส้นทางช่องแสงในบ้าน ซึ่งนักออกแบบได้เจาะจง ตำแหน่งที่รับแสงได้พอดี ในเวลาเดียวกันอากาศจะถูกถ่ายเท ด้วยช่องเปิดและตรงช่องว่างระหว่างหลังคา ทั้งสองด้วยเช่นกัน ทุก ๆ อย่างที่รวมกันเป็นองค์ประกอบของ บ้านจึงมีเหตุผลรองรับทั้งหมด
บ้านที่ดูเหมือนเรียบง่าย แต่ในทุกราย ละเอียดคิดมาอย่างดีให้มีลูกเล่น และตอบโจทย์ทั้งเรื่องแสง ลม การระบายอากาศ ไปจนถึงมุมมองจากด้านนอก เข้ามาด้านใน ด้านในมองออกไปข้างนอก การจัดพื้นที่ให้ใช้งานง่ายในชั้นล่าง แต่มีความซับซ้อนในชั้นบน จึงทำให้ชีวิตภายใต้ความเรียบ สะอาด นี้มีความสนุกซ่อนอยู่

การออกแบบบ้านให้อยู่อาศัยได้สบาย ต้องคำนึงถึงหลาย ๆ ปัจจัยไม่ว่าจะเป็น การเดินทางของแสง การเดินทางของลม ฟังก์ชันที่ต้องการใช้งาน รูปแบบการตกแต่งภายใน และความเป็นส่วนตัว ซึ่งความเป็นส่วนตัวนี้อาจจะทำได้ด้วยการปิดบ้านทึบใส่ช่องแสงน้อย ๆ
การขยับบ้านเข้าไปให้ลึกจากถนน หรือทำฟาซาดบ้านแบบระบบผนัง 2 ชั้น ด้านหน้าใส่วัสดุที่มีช่องวางสลับทึบ ให้พื้นที่ภายในรับแสง รับลม และเห็นวิวความเคลื่อนไหวภายนอกได้ ในขณะที่บุคคลภายนอก มองเข้ามาไม่ถนัด ก็เป็นวิธีการสร้างความเป็นส่วนตัวที่ยืดหยุ่น และสบายกว่าแบบปิดทึบ
ห้องอาบน้ำโทนสีขาว
ตกแต่งบ้านสไตล์มินิมอลให้สวยและใช้งานได้จริง

1.ฟังก์ชัน และไลฟ์สไตล์ต้องไปด้วยกัน
ก่อนที่จะเริ่มตกแต่งบ้าน หรือทาวน์โฮมใน สไตล์มินิมอล สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัยและคนในครอบครัว เพราะหากมีแขกมาบ่อยอาจต้องจัดเตรียมพื้นที่บริเวณห้องนั่งเล่นมากขึ้น หรือเพิ่มโซนทำงาน มุมสงบบริเวณริมหน้าต่าง ริมสวน พร้อมจัดเตรียมพื้นที่ไว้สำหรับจัดวางอุปกรณ์การทำงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พริ้นเตอร์ หรือชั้นวางเอกสาร ที่อาจจะกลายเป็นสิ่งรบกวนความเป็นมินิมอล
2.เฟอร์นิเจอร์คือสิ่งสำคัญ
เคล็ดลับการใช้ชีวิตแบบมินิมอลที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งคือ “คุณภาพอยู่เหนือปริมาณ” แทนที่จะซื้อเฟอร์นิเจอร์ราคาถูกและทันสมัยที่จะเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ลองพิจารณาลงทุนกับเฟอร์นิเจอร์คุณภาพสูงสัก 1-2 ชิ้น ที่จะคงอยู่ได้นานหลายปี และอีกอย่างที่ควรจะต้องรู้ไว้ก็คือ การตกแต่งสไตล์มินิมอล ไม่จำเป็นต้องใช้ของตกแต่งเยอะ แต่จะใช้เฟอร์นิเจอร์เป็นของตกแต่งแทน ไม่ว่าจะตู้เก็บของที่มีประตูตกแต่ง

3.เลือกใช้สีผนังที่เป็นกลาง
จุดที่สำคัญมากอีกอย่างของสไตล์มินิมอลก็คือสี เพื่อทำให้บ้านของคุณสว่าง สงบ และไม่รก ควรต้องเลือกใช้สีผนังห้องที่เป็นกลาง ได้แก่ สีขาว บลัช สีเบจ สีน้ำตาล และสีเอิร์ธโทน ที่ให้ความรู้สึกอบอุ่น เท่ และเรียบง่าย แต่ถ้าเบื่อที่จะใช้สีใดสีหนึ่งทั้งบ้าน ก็อาจจะลองเลือกใช้สีใดสีหนึ่งเป็นห้องๆ ไป
4.เพิ่มแสงธรรมชาติ เพิ่มความอบอุ่น
บ้านไหนที่มีหน้าต่างบานใหญ่ที่เปิดรับแสงธรรมชาติอย่างเต็มที่ จะทำให้ห้องสไตล์มินิมอลดูใหญ่และอบอุ่นมากขึ้น แต่ถ้าไม่มีหน้าต่างบานใหญ่ การใช้กระจกมาตกแต่งก็ถือเป็นทางเลือกที่ดี และเรียบง่าย เหมาะกับสไตล์มินิมอล เพราะนอกจากจะช่วยให้ห้องดูกว้างขึ้น ก็ยังมีประโยชน์ใช้สอยไปในตัว เรียกได้ว่าซื้อติดห้องไว้ไม่มีผิดหวัง