รีวิวบ้าน 2 ชั้น

รีวิวบ้าน 2 ชั้น

Contents

รีวิวบ้าน 2 ชั้น

รีวิวบ้าน 2 ชั้น

รีวิวบ้าน 2 ชั้น บ้าน 2 ชั้น คือ บ้านที่มีชั้นบนและชั้นล่าง เชื่อมต่อด้วยบันไดบ้าน โดยพื้นที่ชั้นบนและชั้นล่างมีอัตราส่วนเท่า ๆ กัน มีฟังก์ชั่นและห้องต่าง ๆ รองรับการอยู่อาศัย ตามการออกแบบแปลนทั้งชั้นบนและชั้นล่าง

ข้อดีของบ้าน 2 ชั้น

1. สร้างได้แม้ขนาดที่ดินจำกัด

หากมีที่ดินขนาดเล็กแต่ต้องการพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านที่มากพอ หรืออยู่อาศัยหลายคน ต้องการห้องนอนหลายห้อง บ้าน 2 ชั้นตอบโจทย์มากกว่า แม้ว่าบ้าน 2 ชั้น จะใช้งบประมาณก่อสร้างมากกว่าในการก่อสร้าง บนขนาดที่ดินเท่ากัน แต่ได้พื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัว

2. เหมาะกับครอบครัวขนาดกลาง-ใหญ่

ครอบครัวขนาดกลาง-ใหญ่ ที่อยู่อาศัยกันหลายคนในบ้านหลังเดียว การอยู่บ้าน 2 ชั้น สามารถแบ่งพื้นที่ใช้สอย แบ่งชั้นได้อย่างชัดเจน สามารถจัดสรรพื้นที่ใช้สอยหรือห้องต่าง ๆ ได้อย่างเป็นสัดส่วน ต่อให้มีสมาชิกครอบครัวหลายคนก็ไม่ทำให้รู้สึกอึดอัด

3. แบ่งห้องได้เป็นสัดส่วน

บ้าน 2 ชั้น สามารถแบ่งสัดส่วนห้องต่าง ๆ ให้เหมาะกับการใช้งานได้ดีและสะดวกกว่า เช่น ชั้นบนเป็นห้องนอน มีความเป็นส่วนตัว สบายใจ ไม่โดนรบกวนจากสมาชิกคนอื่น ๆ หรือห้องทำงานส่วนตัว ที่ต้องการความสงบและสมาธิ หรือถ้าหากมีเฟอร์นิเจอร์หรือข้าวของเครื่องใช้เยอะ ก็ยังสามารถแบ่งพื้นที่จัดเก็บได้ง่าย หรือเพิ่มห้องเก็บของอีกห้องก็ได้ เพราะมีพื้นที่เหลืออยู่เยอะ

4. ถ่ายเทความร้อนภายในบ้านได้ดี

ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว บ้าน 2 ชั้นจะถ่ายเทความร้อนภายในบ้านได้ดีกว่า พื้นที่อยู่อาศัยชั้นล่างจะค่อนข้างเย็นสบายกว่าชั้นบน เพราะมีในส่วนของชั้นบนที่ช่วยป้องกันความร้อนที่จะลงมาสู่ชั้นล่าง

5. ปลอดภัย

ด้วยความที่ตัวบ้านบ้าน 2 ชั้น ยกพื้นสูงมากกว่าบ้านชั้นเดียว หากมองในแง่ความปลอดภัยจากสัตว์เลื้อยคลาน แมลง และโจรผู้ร้าย ที่บ้าน 2 ชั้นสามารถป้องกันได้ดีกว่า แต่ทั้งนี้ก็ไม่สามารถรับประกันได้ 100% ยังคงต้องระมัดระวัง สร้างรั้วรอบขอบชิด และปิดบ้านให้เรียบร้อย check here

บ้านโมเดิร์น 2 ชั้น บ้านหลังคาเฉียง

รีวิวบ้าน 2 ชั้น

บ้านโมเดิร์นปิดภายนอก เปิดข้างใน บ้านหลังนี้เริ่มจากการตั้งคำถามว่าเราใช้ชีวิตกลางแจ้งในร่มอย่างไร? ฟังดูอาจจะแปลกๆ เพราะโดยปกติเราจะแยกสัดส่วนการใช้งานบ้านก็คือในร่ม สวนก็อยู่กลางแจ้ง แต่ปัจจุบันนี้คนเรามีความต้องการใกล้ชิดธรรมชาติได้มากขึ้น ความคิดแยกส่วนแบบนี้จึงออกจะดูเชยไปแล้ว สถาปนิกใหม่ๆ ไม่เพียงสนใจเรื่องดีไซน์ ฟังก์ชัน แต่ยังพยายามเชื่อมตัวบ้านกับแสง ลม สิ่งแวดล้อม และการสัญจรไปมาที่มีความลื่นไหลมากขึ้น เหมือนบ้านหลังนี้ที่เปิดช่องทางให้เกิดความต่อเนื่องในการใช้งาน เบลอขอบเขตระหว่างภายในภายนอกได้เป็นอย่างดี

Linear House เป็นบ้านสองชั้นหลังคาเฉียงสูงแบบเพิงหมาแหงนโมเดิร์นนี้ สร้างอยู่ในเมืองโคลัมโบ เมืองหลวงของประเทศศีรลังกา ซึ่งเราไม่ค่อยได้เห็นแบบบ้านบ่อยนัก แต่บ้านหลังนี้ก็ชวนให้สะดุดตาที่เส้นสายเรียบ ๆ แต่คมชัด กรอบหน้าต่างแบบ 3 มิติทันสมัย ภายนอกดูสวยงามแต่ปิดเป็นส่วนตัว ภายในต่างออกไปตรงที่สถาปนิกกำหนดกรอบสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวบ้าน ให้เต็มไปด้วยสีเขียว รู้สึกได้ถึงความเย็นเมื่อมีอากาศไหลผ่านและเปิดตัวบ้านออกไปพื้นที่กลางแจ้งได้ง่ายๆแบบบ้าน

บ้านหน้าแคบตามรูปร่างที่ดินเรียงยาวลึกเข้ามาด้านใน จะเห็นว่าบ้านถูกรวมเข้าด้วยกันด้วยระนาบหลังคาเดียว ซึ่งรองรับด้วยคอนกรีตเป็นโครงสร้างพื้นฐานและฐานเหล็ก นอกจากนี้ยังประกอบด้วยอิฐ ไม้ และผนังกระจกสร้างกรอบบ้านด้วยการฉาบปูนสีซีเมนต์ต่อด้านนอกไม่ว่าจะเป็นส่วนคาน ระเบียง หรือกรอบหน้าต่าง ประตูไม้ขนาดใหญ่ที่ใส่กระจกใสใช้งานเพื่อควบคุมสภาพอากาศภายใน โดยปรับให้เข้ากับมรสุมเขตร้อน และรับทิวทัศน์กรอบของสวนที่อยู่ใกล้เคียงไปพร้อมๆ กัน

สวนของ Linear House ที่จัดอยู่ริมกำแพงบ้านมีพื้นที่แคบ ๆ ขนานไปกับตัวบ้าน สามารถเข้าถึงได้ผ่านเฉลียง ทางเดิน และประตูบ้าน เมื่อเงยหน้าขึ้นไปจะหลังคาโครงไม้ขนาดใหญ่ยื่นออกมา เชิงชายหลังคาคลุมป้องกันบ้านจากแสงแดด ลม และฝน และเพิ่มพื้นที่กึ่งกลางแจ้งให้ใช้งานระหว่างบ้านกับสวน ประตูบานกระจกที่เปิดได้กว้างรอบด้าน ทำหน้าที่เป็นตัวกลางสร้างความต่อเนื่องพื้นที่ภายในภายนอก ดึงคนในบ้านให้อยากออกมาใช้ชีวิตกลางแจ้งมากขึ้น

ประตูและหน้าต่างขนาดใหญ่ที่เปิดออกได้กว้างในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งบานเลื่อน บานผลัก บานเฟี้ยม ต่างมีจุดประสงค์ในการใช้งานเหมือน ๆ กัน คือ เปิดให้บ้านรับแสงธรรมชาติ ทำให้การหมุนเวียนอากาศระบายความร้อนในอาคารดีขึ้น และยังเชื่อมต่อมุมมอง แม้ในวันที่สภาพอากาศไม่เป็นใจก็ยังรู้สึกถึงความอิสระและสดชื่นของพื้นที่กลางแจ้งได้

แม้จะไม่ได้ก้าวออกจากตัวบ้านเลยสักก้าวเดียวบรรยากาศภายในบ้านที่เต็มไปด้วยแสงสว่างส่องทะลุผ่านจากผนังกระจกเข้ามา ทำให้ช่วงเวลากลางวันแทบไม่ต้องเปิดไฟฟ้าส่องสว่าง การเลือกใช้วัสดุบ้าน ๆ ที่หาได้ในท้องถิ่นอย่าง ไม้ หิน คอนกรีตไม่ทำสี อิฐแดงโชว์แนว เป็นลุค Natural มีความเป็นพื้นถิ่นที่ให้กลิ่นอายแบบลอฟท์เล็ก ๆ  เพราะเต็มไปด้วยการโชว์เนื้อแท้แห่งสัจจะวัสดุ

ชั้นล่างเป็นโซนที่มีความเคลื่อนไหวมากตลอดทั้งวัน เพราะรวมฟังก์ชันที่ช้งานร่วมกันได้อยู่ด้วยกันเป็นห้องโถงใหญ่ ๆ ประกอบด้วย มุมนั่งเล่น มุมทานอาหาร และครัว ที่เข้าถึงกันได้หมด บนพื้นที่ใช้สอยสูงโปร่ง 2 เท่า ยิ่งทำให้บ้านสบาย โล่ง เบา น่าอยู่หลังบ้านเปิดประตูออกไปยังสระว่ายน้ำเล็ก ๆ ซึ่งมีความเป็นส่วนตัวจากทุกด้านของบ้าน

เหนือสระว่ายน้ำบนชั้นสอง จะเป็นส่วนของห้องพักผ่อน ห้องนอนส่วนตัวที่รวมอยู่ในปีกเดียวกัน รับประกันความใกล้ชิดสามารถดูแลกันได้ยามถึงเวลาพักผ่อน แต่ก็มีโซนที่แยกตัวให้มีความเป็นส่วนตัวเล็กน้อย ซึ่งสมดุลของการเชื่อมต่อและการแยกสัดส่วนจำเป็นต่อการตกแต่งภายในบ้าน

บ้านที่ดีตวรอยู่สบาย แม้ว่าคำว่าอยู่สบายของแต่ละบ้านก็ต่างกันตามความชอบหรือสภาพแวดล้อม สภาพภูมิอากาศที่ไม่เหมือนกัน แต่พื้นฐานโดยรวมก็ควรจะเย็นสบายในช่วงฤดูร้อน อุ่นในช่วงที่หนาวเย็น มีแสงธรรมชาติลดความชื้น เพิ่มความสว่าง และถ้าจะให้ดีมากขึ้นไปอีก ควรมีความลื่นไหลของแต่ละพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นภายในบ้านเอง หรือระหว่างภายในกับภายนอก ทำให้บ้านใช้านได้เต็มประสิทธิภาพ เพิ่มคุณภาพชีวิตดี ๆ ให้ผู้อยู่อาศัยไปพร้อมกัน

บ้านสองชั้นสไตล์ญี่ปุ่นโมเดิร์น

บ้านสองชั้นสไตล์ญี่ปุ่นโมเดิร์น

บ้านในประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีแนวคิดทางสถาปัตยกรรมอันโดดเด่น และชวนให้รู้สึกเซอร์ไพรส์เสมอ ไม่เฉพาะบ้านใหม่เท่านั้นแต่รวมถึงการตีความรูปแบบบ้านที่เคยคุ้นกันอยู่แล้ว ให้ออกมาในรูปแบบใหม่ ๆ ที่ต่างออกไปเพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยและสอดคล้องกับบริบท ทั้งรูปฟอร์ม ฟังก์ชัน การรวมกันของวัสดุที่มีความเป็นเอกลักษณ์ อย่างเช่นบ้านหลังนี้ที่เป็นบ้านสองชั้น แต่ไม่ใช่การแบ่งสัดส่วนชั้นบนออกจากชั้นล่างเหมือนบ้านทั่วไป เพราะบ้านจะค่อย ๆ ไต่ระดับขึ้นและทะลุถึงกันได้หมด

Oku Tenjin’s house สร้างอยู่ในชุมชนได้รับการพัฒนาให้เป็นย่านที่อยู่อาศัยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2508 โดยบริเวณนี้จะมีลักษณะเป็นทางลาด ที่มีบ้านทั้งเก่าและใหม่ปะปนกันไป ล้อมรอบด้วยกำแพงกันดินที่สลับซับซ้อน อาคารหลายแห่งจึงมีลักษณะเป็นกลุ่มของชิ้นส่วนอาคารเล็กๆ รวมเข้าด้วยกัน แทนที่จะเป็นที่อยู่อาศัยเพียงยูนิตเดียว เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากพื้นที่จำกัดและเน้นเพิ่มพื้นที่ด้านบนแทน บ้านนี้ก็พบกับข้อจำกัดเช่นเดียวกัน ทำให้แทนที่จะสร้างบ้านสองชั้นหน้าตาเหมือนบ้านใกล้เคียงสถาปนิกกลับออกแบบแปลนให้เป็นก้อนเล็ก ๆ นำมาปะติดปะต่อกัน ไต่ระดับขึ้นเหมือนภูเขา ทำให้บ้านมีมุมมองในหลายระดับต่างๆ กัน

บ้านสองชั้นสไตล์ญี่ปุ่นโมเดิร์น

ด้วยขนาด รูปร่าง และลักษณะพื้นที่ที่มีข้อจำกัดอย่างที่ว่ามา ดังนั้นสถาปนิกจึงทำการจัดระเบียบชั้นล่างให้เปิดกว้างในแนวนอนแบบ open plan รวมพื้นที่นั่งเล่น ทานขhาว และครัวขนาดกะทัดรัดเข้าด้วยกันในพื้นที่เดียว แยกเฉพาะห้องที่จำเป็นเท่านั้น สำหรับชั้นบนจะเป็นภาพของการเปิดเชื่อมต่อในแนวตั้งและใช้วิธีการทำบ้านแบบเล่นระดับ โดยมีบันไดเหล็กสีขาวเป็นตัวเชื่อมออกไปแตะฟังก์ชันที่อยู่ในระดับต่างๆ กันของบ้าน มองดูเหมือนต้นไม้ที่แตกแขนงขยายกิ่ง ใบ ออกจากลำต้นแยกออกไปในหลายทิศทาง

ลืมรูปแบบบ้านสองชั้นเก่า ๆ ที่ต้องมีพื้นและเพดานแบ่งสัดส่วนอาคารชั้นบนและชั้นล่างออกจากกัน ทุกชั้นมีฝ้าเดานปิดบังโครงสร้างให้เรียบร้อย แต่ที่นี่สร้างภาพตความต่อเนื่องให้ทุกชั้นมองเห็นกันได้หมด จากพื้นไปถึงโครงสร้างหลังคา ดูเป็นบ้านที่เปิดเผยในส่วนที่ไม่ซีเรียสกับการถูกมองเห็น แต่ในส่วนห้องที่ต้องการความเป็นส่วนตัวก็มีผนังปิดมิดชิดจากสายตาบุคคลภายนอก

เมื่อแต่ละโซนของบ้านที่ใส่เข้ามาประกอบกันเป็นก้อนอาคารเล็ก ๆ และมีส่วนที่ยื่นแยกออกไป หลังคาจึงต้องเหมาะสมกับตำแหน่งของกิ่งและใบที่แตกแขนงนั้นด้วย เพื่อปกป้องฟังก์ชันของบ้านจากแสงแดด ลม และฝน สถาปนิกจึงดีไซน์เป็นหลังคาขนาดเล็กที่เชื่อมทั้งภายในและภายนอกเข้ากับธรรมชาติผ่านชายคา และใส่ผนังกระจกคั่นระหว่างหลังคาแต่ละชุด เพื่อดึงภูมิทัศน์ภายนอกให้เข้ากับจังหวะของอาคารโดยรอบอย่างมีความต่อเนื่อง แบบไม่รู้สึกว่ามีอุปสรรคกั้นสายตา

บ้านที่มีส่วนประกอบหลัก ๆ เพียงไม่กี่อย่าง อาทิ ไม้ บันไดเหล็กบางๆ สีขาว กระจกใส รวมตัวกันเป็นบ้านที่เปิดโชว์ให้เห็นสภาพแวดล้อมภายใน ใส่ระดับการมองเห็นในรูปแบบที่ต่างจากบ้านทั่วไป ทำให้บ้านนี้มีความน่าสนใจในแบบที่ไม่มีใครเหมือน แต่ใช่ว่าจะมีแต่ความแปลกแตกต่างเท่านั้น ในแง่ของฟังก์ชันใช้งานก็ตอบโจทย์เจ้าของบ้านได้อย่างน่าสนุก พร้อมๆ กับความสามารถในการต้านทานแผ่นดินไหว ซึ่งเป็นภัยพิบัติหลัก ๆ ของญี่ปุ่น

บ้านสองชั้นสไตล์ญี่ปุ่นโมเดิร์น

ข้อดีที่เห็นได้ชัดของบ้านเล่นระดับ คือ สเปซภายในบ้านค่อย ๆ ไต่ขึ้นไป ทำให้ไม่รู้สึกว่าระยะห่างระหว่างฟังก์ชันสูงมาก พื้นที่มีความยืดหยุ่น มีความต่อเนื่อง และดัดแปลงใช้งานได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการเปิดพื้นที่โล่งแบบชานบ้าน หรือเลือกปิดกั้นผนังให้พอมองเห็นกันได้บางส่วน หรือใส่ผนังกระจกใส สร้างขอบเขตให้เป็นสัดส่วนแบบที่ยังมองเห็นกันได้ปรุโปร่ง ในเวลาที่ต้องการความเป็นส่วนตัวก็ใช้ผ้าม่านปิด เป็นต้น ในข้อดีส่วนอื่นๆ ยังทำให้บ้านมีพื้นที่ว่างระหว่างชั้นให้อากาศและแสงเดินทางภายใน บ้านจึงโปร่งไม่อึดอัด